ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Showa

ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Showa

เมื่อ 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 00:59
เรามาทำความรู้จัก ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Showa Sanshoku {โชวะ(โชว่า) ซันโชกุ} ไปพร้อมๆกันนะครับ
ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Showa ถูกพัฒนาขึ้นมาในราว ช่วงทศวรรษที่ 1930 (1930-1939) โดยมีลักษณะ เป็นปลาแฟนซีคาร์พที่มีลวดลายสีแดง และขาว ตัดกับฐานสีดำนิล(หนังสือเค้าว่า แต่ผมว่า ลายมันเป็นสีแดงและดำบนพื้นสีขาวมากกว่านะครับ)
สีดำ (Sumi) เป็นพื้นฐานสำคัญในการประเมินค่าความสวยงามของสายพันธุ์นี้ โดยจะต้องวางตัวเป็นฐานสีเข้ม ตัดกับลวดลายสีแดงและขาว ผสมผสานเป็นลวดลายที่น่าสนใจ
ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Showa ที่มีสีขาวค่อนข้างเยอะกว่าสีดำ เรียกว่า Kindai Showa {คินได โชวะ(โชวะสมัยใหม่),Modern}
ในภาพแบบนี้ เรียกว่า Classic Showa {คลาสสิคโชวะ(โชวะสมัยเก่าหรือแบบดั้งเดิม)}
Showa Sanshoku

ก่อนปี 1975 เชื้อสายที่เป็นตัวแทนของปลาโชว่าหรือโชวะ คือ โคบายาชิโชวะ ปลาโชวะเกือบทั้งหมดจะมีลักษณะ ดำเยอะ และขาวน้อยมาก ดำและแดงซ้อนเหลื่อมกันเกือบทั้งหมด ด้วยความที่มีผิวสีดำเยอะ ทำให้ดูรู้สึกมีพลัง น่าเกรงขาม แต่ผู้เพาะพันธุ์บางคนไม่รู้สึกพอใจกับลักษณะ โชว่า แบบ โคบายาชิโชวะ เพราะรู้สึกว่า ถึงแม้ดำจะแสดงให้เห็นถึงพลังแต่ก็ทำให้ความสวยงามลดทอนลงไป ตรงนี้นี่เอง ที่เป็นจุดกำเนิดของ คินได โชว่า หรือโชว่า แบบใหม่
คินได โชว่า มีลักษณะที่ต่างออกไปคือ แดงและดำแยกออกจากกัน ดังปลาในภาพ การที่มีสีขาว ดำ และแดง ที่วางเข้ากันอย่างลงตัวทำให้เกิดความรู้สึกสว่างครับ
แพทเทิร์นลายสายฟ้า หรือ อินาซึมะแพทเทิร์น ที่กลางตัวปลาเป็นสีแดงที่หนา บนสีขาว สีดำบริเวณหัว ครีบว่าย ลำตัว และช่วงหาง วางได้อย่างสวยงาม และไม่ปิดหรือทับส่วนของสีแดง ลักษณะที่สีดำและแดงแยกจากกันแบบนี้ทำให้เกิดผล คือ ความสมดุลและดูสว่าง
Mr. Tomiji Kobayashi และ Mr. Minoru Mano ร่วมมือกันในการพัฒนาและเพาะพันธุ์ปลาโชว่า โคบายาชิ เพาะโคบายาชิโชว่า ลักษณะเหมือนปลาในภาพ
สีแดงเพลิงและตำแหน่งของสีดำที่สม่ำเสมอทั่วทั้งตัว ทำให้ โคบายาชิโชว่า ดูมีพลัง
ในขณะเดียวกัน มาโนะ ได้พัฒนา ไดนิชิโชว่า มีลักษณะ ช่วงสีขาวที่ยอดเยี่ยม สว่างและดูทันสมัย
ปลาที่ถูกเพาะพันธุ์โดยทั้งสองท่าน เคยได้รับรางวัล แกรนด์แชมเปี้ยน และได้คะแนนจากการประกวดในระดับสูง
Odome

ในปลาโชว่า ลักษณะของสีดำในส่วนหางเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันกับปลาโคฮากุ http://www.koi108.com/main_get.php?method=read_news&output=html&news_id=23 และซังเก้ http://www.koi108.com/main_get.php?method=read_news&output=html&news_id=28 ลักษณะแบบในภาพจะดูดีและสวยงามกว่าแบบโคบายาชิโชว่า รูปด้านบน

ในส่วนของหาง สีดำ หรือ แดง ควรจะสุดที่บริเวณพื้นสีขาว แนวระหว่างสี(ดำหรือแดงก็ได้กับสีขาว) เรียกว่า โอโดเหมะ การไม่เปิดข้อหาง แบบปลาโคบายาชิโชว่า ถือว่าเป็น ตำหนิใหญ่ทีเดียว

ปลาตัวในภาพ แพทเทิร์นจบด้วยดำบนพื้นสีขาว สีดำบริเวณโอโดเหมะบาลานซ์ลงตัวกับสีดำที่ปาก ทำให้ปลาตัวนี้ได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงมากครับ
Doh Zumi

ซูมิหรือสีดำบริเวณลำตัว เรียกว่า โดะ ซูมิ ปลาอินาซึมะโชว่าในภาพ มีซูมิบริเวณนี้ที่เสียเปรียบ เพราะความที่สียังไม่สมบูรณ์ ที่เราเรียกกันว่า ฟินิช นั่นแหละครับ ถ้าฟินิช สีจะแน่น เข้ม เป็นผืนใหญ่ ก็จะได้เปรียบในการประกวดแข่งขันเป็นธรรมดา

Motoguro(สีดำที่โคนครีบว่าย)

สีดำที่ครีบว่าย เป็นคุณลักษณะที่สำคัญมากสำหรับโชว่า ลักษณะแบบในภาพ ถือว่า เป็นลักษณะที่สมบูรณ์แบบ คือมีสีดำประมาณ 30% การที่จะหาปลาที่มีลักษณะครีบที่สมบูรณ์แบบนี้ค่อนข้างหายากเลยทีเดียว เวลาเราจะคิดถึงโมโตกุโร่ ตอนเลือกซื้อปลา คิดถึงปลาตัวนี้ก็ได้ เพราะถือว่าเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ครับ
รูปแบบของหน้าที่สวยงาม

ด้วยเพราะเหตุว่า หน้าเป็นส่วนที่ดึงดูดที่สุดในเรื่องของความสวยงาม
ส่วนสำคัญมีอยู่ว่า สีขาว ดำ และแดง เข้ากันอย่างลงตัว จนทำให้เกิดรูปแบบที่สวยงาม ลงตัว ไม่หยุดชะงัก ระหว่างกันและกัน

จากภาพ มีรูปแบบที่สมบูรณ์ ของสีขาว แดง และดำ ปลาที่มีหน้าลักษณะแบบนี้ ก็หายากอีกเช่นกัน
ลักษณะสีบนใบหน้าที่ลงตัวแบบนี้ ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งให้เจ้าปลาตัวนี้ชนะเลิศได้แกรนด์แชมเปี้ยนในงานออลเจแปนครับ
ปลาในภาพนี้ เป็นปลาที่มีชื่อเสียงตัวหนึ่ง ที่ได้รางวัล Kokugyu หรือ Best in size ในงานออลเจแปนสองปีซ้อน แพทเทิร์นที่มีการรวมกันของสีดำและแดงอย่างดีเลิศทำให้ปลาตัวนี้ชนะการประกวด คุณภาพ ของดำและแดง ถือว่าดีเลิศ โดยจะเห็นได้จากความสว่างเงางาม แต่ทว่า ปลาตัวนี้ ไม่ได้สวยงามแบบนี้ ในช่วงอายุ 1 - 2 ปี (จะเลี้ยงปลาให้แสดงศักยภาพออกมาอย่างสมบูรณ์ต้องใช้เวลานะครับ)

เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่จะเจอปลาที่ยังไม่ฟินิชแบบนี้ และเลี้ยงมันจนโตขึ้นเป็นปลาที่สวยงาม(เมื่อเราพูดถึงการฟินิชของปลา เราจะหมายรวมถึงหลายๆสิ่ง การที่ปลาจะสวยสมบูรณ์หรือฟินิช นั่นคือ ปลาตัวนั้น ต้องเติบโตและสวยงามเต็มศักยภาพที่มันจะสามารถเป็นได้ ส่วน การฟินิช อีกอย่าง คือ ฟินิชวาไรตี้ นั่นคือ การมีสายพันธุ์ มีลักษณะที่มั่นคง และเพียงพอที่ผู้เลี้ยงสามารถหามาได้)

ทีนี้มาดูที่ส่วนหางกัน

ปลาตัวนี้ไม่มีสีดำบริเวณปากและเริ่มต้นแพทเทิร์นด้วยแดง เพราะฉะนั้น การจบแพทเทิร์นด้วยสีแดง แทนที่จะเป็นสีดำที่ส่วนหาง จะทำให้ปลาตัวนี้สวยงามมีบาลานซ์ที่ดี เหมือนกับอินาซึมะโชว่าได้เลยทีเดียว

อินาซึมะโชว่า เริ่มต้นด้วยดำบริเวณปากและจบท้ายด้วยดำบริเวณหาง ทำให้เกิดความสมส่วนที่สำคัญนั่นเองครับ
ทักษะในการเลี้ยงปลา


ในการเปรียบเทียบ ปลาอินาซึมะโชว่า และปลาตัวในภาพ ปลาในภาพนี้มักจะถูกพิจารณาว่าดีกว่าในหลายต่อหลายครั้ง

ปลาทั้งสองตัวมีคุณภาพเท่าๆกัน

มีแพทเทิร์นที่ดีเหมือนๆกัน (อินาซึมะมีโมโตกุโร่ แต่ตัวนี้ไม่มี อินาซึมะมีโอโดเหมะ ตัวนี้ก็ไม่มี แต่ในด้านความสวยงาม ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกัน)

ในด้านรูปร่าง ปลาตัวนี้มีรูปร่างที่ดีกว่า ฉะนั้นทำให้ได้คะแนนสูงกว่า เหนือกว่าตัวอินาซึมะ

เมื่อเราเอาทั้งสามปัจจัยมารวมกัน คือ รูปร่าง คุณภาพ และแพทเทิร์น (เพราะเค้าให้ความสำคัญกับรูปร่างมากกว่า รองลงมาคือคุณภาพ และแพทเทิร์นน้อยสุดในสามปัจจัยนั่นเอง)

ในความเป็นจริง ปลาอินาซึมะ ชนะงานประกวดได้รับรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยน เป็นผลมาจากทักษะการเลี้ยงของเจ้าของนั่นเอง


ความสวยงามของปลา ไม่เพียงแต่ถูกสร้างขึ้นตามธรรมชาติด้วยตัวปลาเอง แต่มาจากปัจจัยอื่นๆด้วย เช่น สภาพแวดล้อม อาหารและเทคนิคการเลี้ยง

ปลาแฟนซีคาร์พ เป็นปลาที่โดยปกติในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ในแม่น้ำ สระ หรือทะเลสาปที่ลึก

ด้วยการที่เราเลี้ยงปลาธรรมชาตินี้ในบ่อที่เล็กและไม่เป็นธรรมชาติเมื่อเทียบกับที่ๆมันเคยอาศัย เราจึงจำเป็นต้องศึกษาและเข้าใจกฎของธรรมชาติ อย่างถ่องแท้ และฝึกฝนพัฒนาทักษะในการเลี้ยงปลาคาร์พ เพื่อให้ความสวยงามโดยกำเนิดของมันแสดงออกมาอย่างเต็มศักยภาพ
แล้วแบบไหน ตัวไหน สวยกว่าล่ะ?

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างอินาซึมะโชว่า กับปลาในภาพ
อินาซึมะได้เปรียบที่มีความสวยสว่างเหนือกว่า แต่ตัวในภาพก็ได้เปรียบในเรื่องความสวยแบบมีพลัง

เมื่อแรกเห็นเราจะรู้สึกว่าสวยพอๆกัน ถ้าเราพิจารณามันเหมือนงานศิลปะ ทั้งสองตัวย่อมจะได้รับคะแนนเท่าๆกัน


แต่ถ้าเราเปรียบเทียบโดยว่ากันตามตำราล่ะก็ เราจะเห็นความแตกต่างพอสมควร ยกตัวอย่างเช่น ปลาตัวในภาพ ที่บริเวณหน้า มีแค่สีดำและแดง ในขณะที่อินาซึมะ มีลักษณะที่สวยงามทั้งสีขาว แดงและดำ


ปลาตัวในภาพยังมีโมโตกุโร่ที่มีดำเยอะเกิน ในขณะที่ อินาซึมะ มีลวดลายสีแดงเป็นลายอินาซึมะที่สวยงาม


ในส่วนของหาง แม้ว่าตัวในภาพจะมีสีขาว ดำ และแดงที่วางอย่าลงตัว แต่ก็ยังไม่ดีเท่าอีกตัว เป็นต้น

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า แม้เห็นแรกๆจะคิดว่าสวยงามพอๆกัน แต่หากลงลึกในรายละเอียด ตรวจสอบทีละส่วนอย่างใกล้ชิด เราจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเลยทีเดียว


เรื่องราวของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ต่างๆยังมีให้ศึกษาอีกมากมาย ค่อยๆเรียนรู้ไปด้วยกันนะครับ
รับรู้ข้อมูล ข่าวสาร โปรโมชั่นต่างๆ บทความใหม่ๆได้ก่อนใคร เพียงท่านกดไลค์แฟนเพจ koi108.com ที่
www.facebook.com/koi108
หรือ ทางไลน์กรุ๊ป ผ่านทาง QR code ในภาพนะครับ