ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Asagi

ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Asagi

เมื่อ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 23:07
เราจะมาเรียนรู้ และทำความรู้จักกับ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Asagi (อาซากิ) กันให้มากขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมๆกันครับ
ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Asaki เป็นปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง ถูกนำมาใช้เป็นสายพันธุ์พื้นฐานในการพัฒนาปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ใหม่ๆอีกมากมาย
บนแผ่นหลังของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Asaki ถูกปกคลุมด้วยลวดลายของเกล็ดที่มีลักษณะเหมือนตาข่ายสีคราม, สีน้ำเงินเข้ม หรือสีฟ้าอ่อน
หัวของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Asaki จะมีสีฟ้าอ่อนๆ และต้องสะอาด ไม่มีตำหนิเปรอะเปื้อน
ฐานหรือโคนของ ครีบอก ครีบหาง บริเวณท้อง และฝาประกบเหงือก ของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Asaki มักจะมีสีส้มเข้มถึงแดง
ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ(Asagi) มีจุดสังเกตง่ายๆ 3 ข้อ คือ
1. ไม่มีแพทเทิร์นลวดลายสีแดง (เหมือนปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์โคฮากุและซังเก้)
2. มีลำตัวตัวสีออกฟ้าหรือคราม และ
3. สีแดงที่โคนครีบว่าย

สีแดงที่บริเวณโคนครีบว่าย เรียกว่า Motoaka (โมโตอากะ,โมโตอะกา)

โมโตอากะ เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาความสวยงามของ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิและซูซุย (Shusui) ซึ่งปลาแฟนซีคาร์พทั้งสองสายพันธุ์นี้มีเชื้อสายเดียวกัน

เมื่อตอนปลามีอายุน้อย ส่วนมากครีบทั้งหมดจะเป็นสีแดง แต่เมื่อมันโตขึ้น ครีบว่ายจะเริ่มมีสีขาวจากปลายครีบทีละเล็กทีละน้อย สีแดงจะหดตัวเข้าไปประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ หนึ่งในสามส่วนของครีบว่าย
โมโตอากะที่ครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ส่วนหรือ 30% ของครีบว่าย เป็น อุดมคติที่สวยงาม และดูกลมกลืนสมส่วน มากที่สุด

แม้ว่า สีแดงบนครีบจะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิดูสวยงาม แต่มันก็ไม่จำเป็นเสมอไป ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิบางตัว มีลวดลายตาข่ายที่สวยงาม โดดเด่นมาก จนทำให้เราสามารถมองข้ามสีแดงบนครีบไปได้เลย เน้นคุณภาพโดยรวมมากกว่า ซึ่งลวดลายตาข่ายเป็นส่วนสำคัญที่สุด

ถ้าเราไม่คำนึงถึงรูปร่างที่สวยงามของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิ ว่ากันด้วยเรื่องแพทเทิร์นอย่างเดียว เรื่องแรกในการพิจารณา ก็คือ บริเวณส่วนหัวต้องเกลี้ยงเกลา ขาวสะอาด

ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิหลายๆตัว มักมีจุดสีดำเล็กๆ เรียกว่า Jyami (จาหมิ) บนหัว หรือผิวบริเวณหัวสีเหลือง ซึ่งถือว่าเป็นตำหนิเช่นกัน

ผิวบริเวณหัวที่ขาว ใส เกลี้ยงเกลาดังปลาในภาพ เป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ช่วยขับความสวยงามของตาข่ายสีฟ้าบนตัวปลาให้โดดเด่นยิ่งขึ้น

เมื่อพิจารณาปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิในภาพ เกล็ดที่เป็นรูปลายตาข่ายบริเวณไหล่ของปลา เรียงอย่างสวยงามไปจนถึงส่วนหาง และเรียงตามส่วนโค้งของบริเวณลำตัวปลา

การพิจารณาความสวยงาม จะต้องไม่มีเกล็ดใดๆหายไปแม้แต่เกล็ดเดียวหรือจะต้องไม่มีสีที่ไม่สม่ำเสมอ และจะต้องไม่มีสีแดง หรือเกล็ดกินรินในลวดลายตาข่าย

ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิที่ดี จะต้องมีเกล็ดที่เรียงอย่างสวยงามสม่ำเสมอ 5-6 แถวนับจากครีบกระโดงหลังไล่ลงมาจนถึงเส้นข้างลำตัว

ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นมาตรฐานการพิจารณาตัดสินความสวยงาม ของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิ

แม้ว่า ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิที่อายุยังน้อย จะยังไม่พัฒนาลวดลายตาข่ายที่สมบูรณ์นัก แต่การเลือกปลา จะต้องพิจารณาให้ดี เพราะ ลวดลายตาข่ายที่เรียงสวยงามจะเป็นส่วนสำคัญอย่างมากเมื่อปลาเหล่านี้โตขึ้นจนมีขนาด 70-80 เซ็นติเมตร

ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิ ในภาพถือเป็นปลาในอุดมคติ ที่มีครบสมบูรณ์ทุกข้อที่เราพิจารณาสามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในการเลือกหรือพิจารณาความสวยงามของ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิ ตัวอื่นๆได้เลยทีเดียว
ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิ เป็นปลาแฟนซีคาร์พที่ไม่มีลวดลายเหมือนสายพันธุ์หลักๆอื่นๆ

ด้วยเป็นเพราะว่า ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิ ไม่มีลวดลายแพทเทิร์นสีแดง จะมีคนหลายๆคนคิดเหมือนกันว่า มันเป็นปลาที่ไม่สวยเหมือนกับ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์โคฮากุ หรือไทโช ซังเก้ จึงทำให้ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิ ได้รับความนิยมน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆที่มีแพทเทิร์นสีแดง
อย่างไรก็ตาม ถ้าได้ลองเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิ ที่มีลักษณะสง่างาม สะดุดตา มักจะติดใจในเสน่ห์ของปลาสายพันธุ์นี้อย่างแน่นอน
ถ้าเราจะเลือกพิจารณาความสวยงามของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิเป็นส่วนๆ ควรจะมีข้อสังเกตดังนี้
1. สีแดงในส่วนของหาง ควรมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของครีบหางทั้งหมด
2. ควรมีสีแดงในครีบหลัง จึงจะเป็นจุดดึงดูดสายตา และเพิ่มความสวยงามให้กับปลาอาซากิตัวนั้นๆ
3. ควรมีเกล็ดสีครามที่สมบูรณ์ เรียงอย่างสมมาตรได้สัดส่วน ไปตามแนวโค้งของลำตัวตั้งแต่บริเวณไหล่ไปจนถึงหาง และจะดีมากๆถ้ามีเกล็ดสีครามที่สมบูรณ์เรียงต่อกัน 5 - 6 แถวนับตั้งแต่ครีบหลังไปจนถึงท้องปลา
4. จุดสีแดงที่เกิดขึ้นบนเกล็ดหลังและลำตัว ถือเป็นตำหนิ
5. เกล็ดลวดลายตาข่ายที่คมชัดและดูหนา ของปลา(ดังตัวในภาพ) ถือว่าสวยงามมากและเป็นที่ต้องการอย่างมาก
6. การที่ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิ เกล็ดหลุด แม้เวลาจะผ่านไปเป็นปี ก็จะมีตำหนิให้เห็น ดังจุดนี้ ส่วนนี้ถือเป็นข้อบกพร่องหรือตำหนิ แม้ว่าเกล็ดใหม่จะขึ้นมาอย่างสมบูรณ์แล้ว แต่ลวดลายตาข่ายในเกล็ดใหม่จะดูจางกว่าเกล็ดอื่นๆ
ความไม่สม่ำเสมอของสีหรือลวดลายตาข่ายในเกล็ดถือเป็นตำหนิข้อใหญ่ในการพิจารณาความสวยงามของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิ
7. เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น ประมาณ 70 เซ็นติเมตร ลวดลายตาข่ายในส่วนที่วงกลม(เบอร์ 7) จะดูหนาขึ้นและใหญ่ขึ้น เหมือนส่วนที่วงกลมเบอร์ 5
8. โมโตอะกา หรือส่วนของสีแดงบนครีบว่าย เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนในการพิจารณาความสวยงามดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
9. ส่วนสำคัญอีกส่วนที่ทำให้ปลาตัวนี้ดูสวยงาม คือ การมีหัวที่ขาวสะอาด
10. ในส่วนของตา อาจจะมีสีแดงได้ (ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิสายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่ได้รับการอนุโลมในข้อนี้)
11. จุดสีแดงที่ขึ้นมาในส่วนหัว ถือเป็นตำหนิ
ท่านทราบหรือไม่ว่า ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ เป็นต้นกำเนิดของ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โคฮากุ


เมื่อพิจารณาปลาตัวในภาพ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเชื่อว่า ปลาตัวในภาพนี้ เป็นปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ เพราะดูไม่เหมือนปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิทั่วๆไป
ปลาตัวนี้เกิดขึ้นมาจากการเพาะพันธุ์ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อาซากิ ในขณะนั้น ผู้เพาะพันธุ์มองเห็นเป็นปลาสีขาว มีครีบว่ายสีแดงและมีสีแดงบริเวณช่วงท้อง เมื่อนำปลาสีขาวมาเพาะพันธุ์ต่อ หลายต่อหลายครั้ง ก็เกิดได้ลูกปลาเป็นปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โคฮากุ ขึ้นมา
ปลาตัวในภาพเป็นลักษณะของปลาต้นกำเนิด ของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โคฮากุ นั่นเอง
Kanoko Asagi (คาโนโกะ อาซากิ)

ปลาตัวในภาพนี้ เป็นปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ ที่ไม่ธรรมดาด้วยการที่มันมีเกล็ดสีแดง
สีแดงในเกล็ดจะไม่มีให้เห็นตั้งแต่ปลายังมีขนาดเล็ก สีแดงจะเริ่มมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ขึ้นมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อปลามีขนาด 50 - 60 เซ็นติเมตร
ถ้าสีแดงขยายจนครอบคลุมทุกเกล็ด มันจะเป็นปลาที่สวยงามมากๆ
สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของปลาแฟนซีคาร์พ คือ การที่มันโตขึ้นและเปลี่ยนแปลงความสวยงามได้เรื่อยๆ
ปลาตัวนี้จึงเต็มไปด้วยความหวัง ที่หวังจะให้แดงขึ้นครบทุกเกล็ด จะได้เป็นปลา คาโนโกะ อาซากิ ที่สวยงามสมบูรณ์ในอนาคต
ปลาแฟนซีคาร์พตัวในภาพนี้ ก็เป็นปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ ที่ไม่ธรรมดาอีกเช่นกัน เพราะ ไม่มีสีฟ้าครามในเกล็ด แต่กลับมีสีแดงในเกล็ดแทน หัวและครีบว่ายก็มีสีแดง แต่เกล็ดสีแดงก็เรียงอย่างสวยงามเช่นกัน
ปลาตัวนี้เป็นปลาที่หายากมาก เนื่องมาจากการเพาะพันธุ์ปลา จะได้ลูกปลาถึงครั้งละ 300,000 - 400,000 ตัว การที่จะมีปลาที่แปลกประหลาดจากพี่น้องและมีความสวยงามอย่างน่าอัศจรรย์ด้วย จึงเป็นเรื่องยากมาก ต้องโชคดีจริงๆถึงจะได้ปลาที่สวยงามและมีเอกลักษณ์แบบนี้สักตัวหนึ่งจากปลาหลายๆแสนตัว
ลักษณะที่ดีในอุดมคติ ของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ ที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือ การมีครีบว่ายสีแดง หรือ โมโตอะกา
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นเพียงลักษณะที่กำหนดว่าควรมี แต่ไม่ใช่ลักษณะที่จำเป็น หรือเป็นที่ต้องการอย่างแท้จริง ของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิทุกตัว

แม้ว่าปลาตัวในภาพจะไม่มีส่วนของครีบว่ายเป็นสีแดง แต่เกล็ดที่เรียงตัวอย่างสวยงาม สมบูรณ์ และสีของลวดลายตาข่ายหนาชัดเจน ก็เพียงพอแล้วที่จะให้คะแนนความสวยงามในระดับสูง การมีปลาลักษณะแบบนี้ในครอบครองจึงเป็นเรื่องที่ทำให้รู้สึกสนุกตื่นเต้น ที่จะได้ลุ้นถึงความเป็นไปได้ว่ามันจะสวยขึ้นขนาดไหน เมื่อมันโตขึ้น

เมื่อเราลองพิจารณาปลาตัวในภาพ
การเรียงตัวที่สวยงาม สมบูรณ์ของเกล็ดตั้งแต่ไหล่จนถึงหาง ตั้งแต่ครีบหลังจนถึงช่วงท้อง สีครามของลวดลายตาข่ายในแต่ละเกล็ดก็สมบูรณ์เท่ากันเกือบทุกเกล็ด ทำให้เราทราบว่า ปลาตัวนี้เป็นปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ ที่สวยสมบูรณ์มากๆตัวหนึ่ง และมีดีกรีแชมป์จากงานประกวดปลาแฟนซีคาร์พออลเจแปนอีกด้วย แม้จะไม่มี โมโตอะกา ที่สมบูรณ์ก็ตาม

สิ่งที่ถือเป็นตำหนิเพียงจุดเดียวของปลาตัวนี้ คือ มีบริเวณที่เกล็ดเคยหลุด บริเวณไหล่ข้างซ้ายของตัวปลา บางทีอาจจะเกิดจากตอนที่ขนส่งไปยังงานประกวดก็เป็นได้

ในการพิจารณาความสวยงามของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ นี้ เกล็ดที่หลุดไปเพียงเกล็ดเดียว อาจจะเป็นข้อบกพร่องข้อใหญ่มาก ดังนั้น เราควรระมัดระวังในการเลี้ยง รวมถึงการเคลื่อนย้ายให้ดี
Ginrin Asagi (อาซากิ กินริน)

เมืองโอจิยะ (Ojiya) เป็นเมืองต้นกำเนิดของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากผู้เพาะพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์พหลายๆคนในเมืองนี้ มีความตั้งใจที่จะเพาะพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา แม้จะเป็นงานที่ยากมากๆก็ตาม
คุณ Tadashi Iwashita เป็นผู้เพาะพันธุ์รายแรกที่สามารถเพาะพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ กินริน ได้เป็นผลสำเร็จ ก็เป็นหนึ่งในผู้เพาะพันธุ์ในเมืองโอจิยะแห่งนี้ โดยเขาสามารถเพาะพันธุ์ Ki Ochiba (คิ โอจิบะ) ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โอจิบะชิกุเระ ที่มีลวดลายสีเหลือง ได้อีกด้วย แต่อาซากิ กินริน คือ สายพันธุ์ที่เขาชื่นชอบในผลงานมากที่สุด

เราได้เห็น ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ กินริน มาสักระยะหนึ่งแล้ว โดยคุณ Iwashita เป็นผู้เพาะพันธุ์คนแรกที่ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ให้ เกล็ดกินริน ขึ้นเรียงสวยงามสม่ำเสมอ ครอบคลุมทั่วทั้งตัวปลา
ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ กินริน ได้ถูกตั้งขึ้น โดยคุณ Iwashita ในปี ค.ศ. 1999
ปัญหาเพียงข้อเดียว ที่ Iwashita Ginrin Asagi ไม่เป็นที่แพร่หลายในวงการปลานัก เพราะเป็นเรื่องยากที่จะได้เป็นเจ้าของ เนื่องมาจาก คุณ Iwashita เป็นผู้เพาะพันธุ์ที่ภูมิใจในปลาของเขามาก เขาจะคัดปลาเก็บไว้เพียง 1,000 - 1,500 ตัวเท่านั้น จากปลานับแสนๆตัวที่เค้าเพาะขึ้นมา
ขออนุญาตปิดท้ายบทความเรื่อง ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ ด้วยคลิป ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อาซากิ ที่ได้รับรางวัล Botan Prize 75 BU
จากงาน Shinkokai All Japan Koi Show 2015
Bred by : Oya Koi Farm โดยฝีมือการถ่ายทำของ ช่างภาพปลาคาร์พมือหนึ่งของเอเชีย พี่เจน มณีรัตน์ ครับ


เรื่องราวของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ต่างๆ ยังมีอีกมากมาย อย่าลืมติดตามไปพร้อมๆกับเรานะครับ
รับรู้ข้อมูล ข่าวสาร โปรโมชั่นต่างๆ บทความใหม่ๆได้ก่อนใคร เพียงท่านกดไลค์แฟนเพจ koi108.com ที่
www.facebook.com/koi108
หรือ ทางไลน์กรุ๊ป ผ่านทาง QR code ในภาพนะครับ